บทความ

อัปเดท! ข้อมูลการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นและสังคม ด้วยการจัดเก็บภาษีให้กับองค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ การเก็บภาษียังมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการใช้ประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอีกด้วย ส่วนอัตราภาษีที่ต้องจ่ายนั้นในช่วงสถานการณ์ COVID-19 รัฐบาลมีการปรับลดอัตราภาษีที่ดินมา ทำให้เราต้องมีการอัปเดทการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567 อีกครั้งกัน 

 

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คืออะไร

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บจากผู้ที่ครอบครองหรือใช้ประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการกระจายรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อใช้ในการพัฒนาพื้นที่นั้น ๆ การจัดเก็บภาษีนี้ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรที่ดินอย่างคุ้มค่า ภาษีนี้ถูกบังคับใช้กับผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดิน อาคาร บ้านเรือน หรือผู้ที่ถือครองสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย โรงงาน ร้านค้า หรือที่ดินว่างเปล่า โดยผู้ที่มีทรัพย์สินดังกล่าวจะต้องเสียภาษีตามมูลค่าทรัพย์สินและประเภทการใช้ประโยชน์ของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ

 

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีประเภทอะไรบ้าง ใครต้องจ่ายบ้าง 

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีที่เก็บจากเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย โดยมีประเภทการจัดเก็บที่แตกต่างกันตามลักษณะการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินและสถานะของเจ้าของ ดังนี้

 

ผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว

สำหรับเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะคำนวณตามมูลค่าของทรัพย์สิน โดยทั่วไปแล้วอัตราภาษีสำหรับบ้านหรือที่ดินที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยมักจะมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเภทอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีการลดหย่อนภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยด้วย โดยอัตราภาษีจะถูกกำหนดตามมูลค่าประเมินของทรัพย์สินและอาจมีการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีตามนโยบายของรัฐ ดังนี้

  • 0-50 ล้านบาท  ได้รับการยกเว้นภาษี
  • 50-75 ล้านบาท  เสียภาษีในอัตรา 0.03%  หรือคิดเป็นล้านละ 300 บาท
  • 75-100 ล้านบาท  เสียภาษีในอัตรา 0.05%  หรือคิดเป็นล้านละ 500 บาท
  • 100 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 0.1% หรือคิดเป็นล้านละ 1,000 บาท

 

ผู้เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว

สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว เช่น บ้านหรืออาคาร โดยไม่รวมถึงที่ดิน อัตราภาษีจะถูกคำนวณตามมูลค่าของสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ ซึ่งอาจรวมถึงบ้านพัก อาคารสำนักงาน หรือโรงงานที่ไม่ใช่ที่ดิน สำหรับอัตราภาษีประเภทนี้จะพิจารณาจากการใช้ประโยชน์และประเภทของสิ่งปลูกสร้าง โดยอัตราภาษีสำหรับบ้านพักที่อยู่อาศัยจะต่ำกว่าการพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม ดังนี้

  • 0-10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
  • 10-50 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.02% หรือคิดเป็นล้านละ 200 บาท
  • 50-75 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.03% หรือคิดเป็นล้านละ 300 บาท
  • 75-100 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.05% หรือคิดเป็นล้านละ 500 บาท
  • 100 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 0.1% หรือคิดเป็นล้านละ 1,000 บาท

 

ผู้เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างหรือที่ดินตั้งแต่ 2 หลังขึ้นไป

เมื่อเจ้าของมีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ 2 หลังขึ้นไป ภาษีจะถูกคำนวณแยกตามประเภทการใช้ประโยชน์และมูลค่าของทรัพย์สิน โดยปกติจะมีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และมีแนวโน้มว่าจะมีการเก็บภาษีสูงขึ้นสำหรับทรัพย์สินที่มีการลงทุนสูง ดังนี้ 

  • 0-50 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.02% หรือคิดเป็นล้านละ 200 บาท
  • 50-75 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.03% หรือคิดเป็นล้านละ 300 บาท
  • 75-100 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.05% หรือคิดเป็นล้านละ 500 บาท
  • 100 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 0.1% หรือคิดเป็นล้านละ 1,000 บาท

 

บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินเกษตรกรรม

สำหรับบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของที่ดินเกษตรกรรม ภาษีจะถูกคำนวณตามมูลค่าของที่ดินที่ใช้เพื่อการเกษตร โดยอัตราภาษีจะต่ำกว่าการใช้ประโยชน์อื่น ๆ เนื่องจากมีการสนับสนุนการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ภาษีจะถูกคำนวณจากมูลค่าประเมินของที่ดิน และอาจมีการลดหย่อนภาษีเพื่อส่งเสริมการเกษตร ดังนี้ 

  • 0-50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
  • 50-125 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.01% หรือคิดเป็นล้านละ 100 บาท
  • 125-150 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.03% หรือคิดเป็นล้านละ 300 บาท
  • 150-550 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.05% หรือคิดเป็นล้านละ 500 บาท
  • 550-1,050 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.07% หรือคิดเป็นล้านละ 700 บาท
  • 1,050 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 0.1% หรือคิดเป็นล้านละ 1,000 บาท

 

นิติบุคคลเป็นเจ้าของที่ดินเกษตรกรรม

นิติบุคคลที่เป็นเจ้าของที่ดินเกษตรกรรมจะต้องเสียภาษีตามมูลค่าของที่ดินเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา แต่จะมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันไปตามประเภทของกิจการและการใช้ที่ดิน นิติบุคคลที่ใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรอาจได้รับการสนับสนุนในรูปแบบของการลดหย่อนภาษีเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเกษตร ดังนี้

  • 0-75 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.01% หรือคิดเป็นล้านละ 100 บาท
  • 75-100 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.03% หรือคิดเป็นล้านละ 300 บาท
  • 100-500 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.05% หรือคิดเป็นล้านละ 500 บาท
  • 500-1,000 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.07% หรือคิดเป็นล้านละ 700 บาท
  • 1,000 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 0.1% หรือคิดเป็นล้านละ 1,000 บาท

 

ผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเชิงพาณิชย์ เช่น ร้านอาหาร ออฟฟิศ โรงแรม สำนักงาน ฯลฯ

เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เพื่อการพาณิชย์ เช่น ร้านอาหาร ออฟฟิศ โรงแรม หรือสำนักงาน จะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าประเภทอื่น ๆ เนื่องจากเป็นการใช้ประโยชน์เพื่อสร้างรายได้ อัตราภาษีจะคำนวณจากมูลค่าของทรัพย์สินและประเภทการใช้ประโยชน์ โดยมีอัตราภาษีสูงกว่า 0.3% ของมูลค่าทรัพย์สิน และอาจมีการปรับอัตราภาษีตามการใช้ประโยชน์ที่สร้างรายได้ ดังนี้ 

  • 0-50 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.3% หรือคิดเป็นล้านละ 3,000 บาท
  • 50-200 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.4% หรือคิดเป็นล้านละ 4,000 บาท
  • 200-1,000 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.5% หรือคิดเป็นล้านละ 5,000 บาท
  • 1,000-5,000 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.6% หรือคิดเป็นล้านละ 6,000 บาท
  • 5,000 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 0.7% หรือคิดเป็นล้านละ 7,000 บาท

 

ผู้เป็นเจ้าของที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์

สำหรับที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ภาษีจะถูกจัดเก็บในอัตราที่สูงกว่าเพื่อลดการถือครองที่ดินโดยไม่ได้ใช้งาน อัตราภาษีเริ่มต้นที่ 0.3% และอาจเพิ่มขึ้นเป็น 1.2% หากปล่อยให้ที่ดินว่างเปล่านานเกิน 10 ปี การจัดเก็บภาษีนี้มีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เจ้าของที่ดินนำที่ดินไปใช้ประโยชน์หรือขายต่อให้ผู้อื่นที่สามารถใช้ประโยชน์ได้

  • 0-50 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.3% หรือคิดเป็นล้านละ 3,000 บาท
  • 50-200 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.4% หรือคิดเป็นล้านละ 4,000 บาท
  • 200-1,000 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.5% หรือคิดเป็นล้านละ 5,000 บาท
  • 1,000-5,000 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.6% หรือคิดเป็นล้านละ 6,000 บาท
  • 5,000 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 0.7% หรือคิดเป็นล้านละ 7,000 บาท

 

วิธีการการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ยกตัวอย่าง นาย ก. ครอบครองที่ดินมูลค่า 70 ล้านบาท และมีสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 10 ล้านบาท โดยตามอัตราภาษีที่กฎหมายที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท จะมีอัตราภาษี 0.03% สามารถคำนวณได้ ดังนี้

จากสูตร (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

(50 ล้านบาท + 10 ล้านบาท) x 0.03% = 18,000 บาท

สรุป นาย ก. ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 18,000 บาท

การจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นหน้าที่ที่เราต้องทำตามกฎหมายอยู่แล้ว ถ้าไม่ชำระหรือหลีกเลี่ยงการชำระจะต้องได้รับโทษทางกฎหมาย ดังนั้น ผู้ที่กำลังมองหาบ้านพักหรือที่อยู่อาศัยต้องศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจครอบครองที่พักอาศัยไหน สามารถเข้ามาเยี่ยมชมโครงการบ้านเดี่ยวและคอนโดจาก CP LAND Property ได้เลจาก CP LAND Property ได้เลย 

#CPLAND #CPLANDProperty