เจ้าของบ้านคนไหนที่กำลังปวดหัวกับปัญหา “บ้านทรุด” เพราะกลัวว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แต่ก็ไม่รู้ว่าต้องจัดการอย่างไร ถึงจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ เพื่อให้คุณทราบถึงสาเหตุและสามารถตรวจเบื้องต้นด้วยตัวเอง เรามีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีเช็กและวิธีแก้ปัญหาบ้านทรุด เพื่อให้คุณเข้าใจและป้องกันด้วยตัวเองได้
บ้านทรุดเกิดจากสาเหตุอะไร
การทรุดตัวของบ้านเป็นปัญหาที่หลายคนอาจประสบพบเจอ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุที่สำคัญ เราจึงรวบรวมสาเหตุที่ทำให้บ้านทรุดตัวลง เพื่อให้เจ้าของบ้านทุกคนสามารถทราบถึงสาเหตุ และป้องกันปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาด้านบ้านทรุด โดยสาเหตุหลักมีรายละเอียดดังนี้
สภาพพื้นดินที่อ่อนนุ่มเกินไป
การที่บ้านของเรามีพื้นดินที่มีความอ่อนนุ่ม หรือมีความชื้นสูงเกินไป อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านทรุดตัวได้ง่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีน้ำใต้ดินสูงหรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งถ้าบ้านหลังไหนถูกสร้างบนพื้นดินประเภทนี้ โดยไม่ได้มีการสำรวจและเตรียมการที่เหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดการทรุดตัวได้ในระยะยาวได้
ระบบฐานรากที่ไม่ได้มาตรฐาน
อีกหนึ่งสาเหตุที่หลายคนมองข้าม คือ “ระบบฐานรากของบ้าน” เพราะฐานรากเป็นส่วนสำคัญที่สุดของโครงสร้างบ้าน หากระบบฐานรากไม่ได้ถูกออกแบบหรือสร้างตามมาตรฐาน เช่น ใช้วัสดุที่ไม่แข็งแรง หรือมีการวางฐานรากไม่ลึกพอ อาจทำให้บ้านทรุดตัวได้ง่าย แบบที่คุณไม่รู้ตัว
การต่อเติมที่ไม่ถูกต้อง
สำหรับใครที่ชอบเปลี่ยนแปลงหรือต่อเติมบ้านโดยไม่คำนึงถึงโครงสร้างเดิมหรือไม่ใช้วัสดุและวิธีการที่เหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดแรงกดทับที่ไม่สมดุล ทำให้บ้านเกิดการทรุดตัวได้ เราจึงควรวางแผนและขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญก่อนการต่อเติมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าบ้านจะยังคงมีความมั่นคงและปลอดภัย
เช็กสัญญาณเตือนบ้านทรุด
หลังจากที่เรารู้จักกับสาเหตุหลักแล้ว การตรวจสอบสัญญาณเตือนที่อาจบ่งบอกว่าบ้านของคุณกำลังมีปัญหาทรุดตัวเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถดำเนินการแก้ไขได้ทันท่วงที เราได้รวบรวมการตรวจสอบสัญญาณเตือนบ้านทรุด ที่คุณสามารถเช็กได้ด้วยตัวเอง โดยสัญญาณที่ควรระวัง มีดังนี้
1. ประตูหน้าต่างเริ่มมีปัญหา เปิดปิดไม่สะดวก
เมื่อประตูหรือหน้าต่างในบ้านเริ่มมีปัญหาในการเปิดปิด เช่น ติดขัดหรือไม่สามารถล็อกได้ อาจเป็นสัญญาณว่าบ้านกำลังมีการเคลื่อนตัว การเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดจากการทรุดตัวของโครงสร้างที่ทำให้กรอบประตูและหน้าต่างเสียรูป ควรตรวจสอบและซ่อมแซมเพื่อป้องกันปัญหาบ้านทรุดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
2. ระบบท่อประปาชำรุดบ่อย
หากคุณพบว่าระบบท่อประปาในบ้านมีการรั่วซึมหรือชำรุดบ่อยครั้ง อาจเป็นผลมาจากการเคลื่อนตัวของโครงสร้างบ้านที่ส่งผลกระทบต่อท่อประปา การตรวจสอบท่อประปาอย่างสม่ำเสมอ และการซ่อมแซมเมื่อพบปัญหา จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดน้ำรั่วซึมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบ้าน
3. เกิดรอยร้าวตามจุดต่าง ๆ ของบ้าน
รอยร้าวที่ปรากฏตามผนัง พื้น หรือเพดานของบ้านเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าบ้านอาจกำลังทรุดตัว รอยร้าวเล็ก ๆ อาจดูไม่เป็นอันตราย แต่หากเริ่มขยายใหญ่ขึ้นหรือมีการเคลื่อนตัว เราจึงควรขอคำแนะนำกับผู้เชี่ยวชาญ หรือบริษัทที่ให้บริการด้านโครงสร้าง เพื่อทำการตรวจสอบและแก้ไขอย่างถูกต้อง
4. พื้นดินรอบตัวบ้านยุบเป็นโพรง
หากพื้นดินรอบตัวบ้านเริ่มยุบลงหรือเกิดโพรง อาจบ่งบอกถึงการทรุดตัวภายในโครงสร้าง การเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้เกิดแรงกดทับที่ไม่สมดุล ซึ่งควรได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินสถานการณ์และดำเนินการแก้ไขอย่างเหมาะสม รวมถึงหมั่นตรวจสอบว่าพื้นดินรอบตัวบ้านยุบเป็นโพรงหรือไม่
วิธีแก้ปัญหาบ้านทรุดเพื่อความปลอดภัย
เมื่อเราทราบถึงสาเหตุและสัญญาณเตือนที่บ่งชี้ว่าบ้านทรุด เราลองมาดูถึงวิธีแก้ปัญหาบ้านทรุดเพื่อความปลอดภัย เพื่อให้คุณสามารถการดำเนินการแก้ไขอย่างถูกต้องและทันเวลา ป้องกันผลกระทบที่อาจส่งผลต่อความปลอดภัยของสมาชิกในบ้านได้ โดยวิธีการแก้ปัญหาบ้านทรุด มีดังนี้
ปรึกษาวิศวกรก่อสร้าง
การปรึกษาวิศวกรก่อสร้างเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญ เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสม วิศวกรจะทำการตรวจสอบสภาพบ้านและพื้นดินรอบ ๆ เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของปัญหา และเสนอแนวทางการแก้ไขที่ดีที่สุดตามสภาพการณ์ จะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
ดีดบ้าน
การดีดบ้านเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการปรับระดับบ้านให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยใช้เครื่องมือเฉพาะทางเพื่อยกบ้านขึ้นและปรับฐานรากให้มั่นคง วิธีนี้มักจะใช้เมื่อบ้านมีการทรุดตัวในระดับที่ไม่มากนัก และสามารถทำได้โดยไม่ต้องทำลายโครงสร้างเดิม
ปิดโพรงรอบบ้าน
หากพบว่ามีโพรงหรือช่องว่างรอบตัวบ้าน การปิดโพรงเหล่านี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านบ้านทรุดเพิ่มเติม แต่ก็มีควรระวังในเรื่องการเลือกใช้วัสดุ อย่าลืมตรวจสอบคุณภาพของวัสดุที่จะใช้ในการปิดโพรง โดยเราสามารถใช้วัสดุเช่น ดินเหนียวหรือวัสดุอุดอื่น ๆ เพื่อเติมเต็มและเสริมความมั่นคงให้กับพื้นที่รอบบ้าน
ลงเสาเข็มใหม่
ในกรณีที่ฐานรากเดิมไม่สามารถรองรับน้ำหนักของบ้านได้อีกต่อไป การลงเสาเข็มใหม่อาจเป็นวิธีที่จำเป็น เสาเข็มจะช่วยกระจายน้ำหนักของบ้านไปยังชั้นดินที่แข็งแรงกว่า ทำให้โครงสร้างมีความมั่นคงมากขึ้น เราจึงควรปรึกษากับผู้รับเหมาที่สามารถช่วยเหลือด้านการลงเสาเข็มของบ้านได้อย่างปลอดภัย
ฉีดวัสดุอุดรอยร้าว
หากเราตรวจสอบบ้านและพบว่ามีรอยร้าวเกิดขึ้นในผนังหรือพื้น อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน แต่เราควรฉีดวัสดุอุดรอยร้าว เช่น โพลียูรีเทน หรือซีเมนต์พิเศษ จะช่วยป้องกันน้ำหรือความชื้นซึมเข้าไปในโครงสร้าง และลดความเสี่ยงในการเกิดบ้านทรุด ที่สามารถเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของบ้านในอนาคตได้
สรุป
จบไปแล้วกับสาเหตุ พร้อมวิธีเช็กและวิธีแก้ไขปัญหาบ้านทรุด ด้วยตัวเอง ทางที่ดีเราควรเลือกโครงการบ้านจัดสรรที่ปลอดภัย น่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันปัญหาด้านโครงสร้างบ้านในอนาคต สำหรับใครที่วางแผนซื้อบ้าน หลังใหม่ ขอแนะนำบ้านจัดสรร จาก CP Land ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีมาตรฐานในการสร้างบ้านที่ปลอดภัยและถูกต้องตามหลักสากล หมดกังวลปัญหาด้านบ้านทรุด ในอนาคต