บทความ

6 เทคนิควางแผนซื้อบ้าน เก็บเงินก้อนฉบับมนุษย์เงินเดือน

6 เทคนิควางแผนซื้อบ้าน เก็บเงินก้อนฉบับมนุษย์เงินเดือน

6 เทคนิควางแผนซื้อบ้าน เก็บเงินก้อนฉบับมนุษย์เงินเดือน

การมีบ้านเดี่ยวเป็นของตัวเอง นับว่าเป็นความฝันที่ทำให้หลาย ๆ คนมุมานะตั้งใจทำงานและหมั่นเก็บออมเงินเพื่อซื้อบ้าน ซึ่งในบทความนี้ CP LAND จะมาแชร์เทคนิคในการวางแผนซื้อบ้านแบบรัดกุม สำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือน โดยเทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถบริหารจัดการเงิน รวมถึงวางแผนซื้อบ้านในฝันให้มีแบบแผนมากขึ้นได้ แล้วเทคนิคที่ว่านี้จะมีอะไรที่เป็นประโยชน์กับคุณบ้าง เราไปดูพร้อม ๆ กันเลย

แจกเคล็ดลับ 6 เทคนิควางแผนซื้อบ้านแบบรัดกุม ฉบับมนุษย์เงินเดือน

อย่างที่ได้บอกไปว่า การมีบ้านเป็นของตัวเองเป็นความฝันของมนุษย์เงินเดือนหลาย ๆ คน ดังนั้น เพื่อให้คุณสามารถทำความฝันนั้นให้เป็นจริงได้ก่อนอายุ 30 เราไปดูกันดีกว่าว่าเทคนิควางแผนซื้อบ้านทั้ง 6 ข้อนั้นมีอะไรบ้าง

1. เลือกบ้านให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ เพื่อตั้งเป้าหมายให้กับตัวเอง

การเลือกบ้านที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ โดยระบุรายละเอียดเพิ่มเติมที่ต้องการ จะเป็นการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนให้กับตัวคุณ ซึ่งจะช่วยให้คุณมีแรงบันดาลใจในการบรรลุเป้าหมายนั้นได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณสามารถวางแผนซื้อบ้านและวางแผนการเงินให้ละเอียดยิ่งขึ้นได้อีกด้วย สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นขั้นตอนนี้ยังไง ก็สามารถทำตาม 3 ข้อนี้ได้เลย

1.1 พิจารณาเงื่อนไขในชีวิตของตัวเอง

การซื้อบ้านเป็นการลงหลักปักฐานให้ชีวิต ซึ่งคุณจะต้องอยู่อาศัยในบ้านหลังนั้นเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อบ้านจึงจะต้องมีการพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ในชีวิตของตัวเอง ทั้งในปัจจุบันและอนาคตเผื่อเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถานที่ทำงาน และความสะดวกสบายในการเดินทาง นอกจากนี้ยังรวมถึงการตกลงกับคนรัก และวางแผนเผื่อไปถึงการมีลูกในอนาคตด้วยเช่นกัน เนื่องจากการพิจารณาปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถเลือกบ้านที่ตอบโจทย์ที่สุดได้

1.2 ทำเลที่ตั้งและขนาดบ้าน

เมื่อพิจารณาเงื่อนไขในชีวิตของตัวเองเป็นอย่างดีแล้ว สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับต่อมาก็คือ การพิจารณาทำเลที่ตั้งและขนาดของบ้านให้เหมาะกับความต้องการและเงื่อนไข ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อการวางแผนซื้อบ้านของคุณ โดยอาจจะพิจารณาจากจำนวนผู้อยู่อาศัยทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงความต้องการและเงื่อนไขของสมาชิกแต่ละคน เพื่อเลือกทำเลที่ตั้งและขนาดของบ้านได้อย่างเหมาะสม

1.3 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะตามมา

เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า นอกจากจะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านให้พร้อมแล้ว ยังต้องมีการเตรียมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สำรองไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ค่าตกแต่ง ค่าตรวจรับบ้าน ค่าดูแล ค่าซ่อมแซม ค่าส่วนกลาง และค่าเดินทางไปดูบ้าน ซึ่งการทราบค่าใช้จ่ายเหล่านี้ล่วงหน้าจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนการเงินที่เกี่ยวกับบ้านทั้งหมดได้เป็นระเบียบยิ่งขึ้น

2. เริ่มวางแผนการเงิน

เมื่อมีการกำหนดเป้าหมายในการซื้อบ้าน ทั้งทำเลที่ตั้ง ขนาดบ้าน รวมถึงลิสต์ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะตามมาไว้เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เวลาของการวางแผนการเงินให้พร้อม โดยเริ่มต้นจากการพิจารณาว่า คุณจะซื้อบ้านด้วยวิธีไหน เป็นการขอสินเชื่อกับธนาคาร หรือการเก็บเงินก้อนไปซื้อบ้าน นอกจากนี้ก็อย่าลืมให้ความสำคัญกับขั้นตอนการจองบ้านที่มีขั้นตอนและเงื่อนไข รวมถึงโปรโมชันต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละโครงการ และเตรียมเอกสารสำคัญให้ครบถ้วน

3. ลดภาระหนี้สินไม่ให้เกิน 40% ของรายได้

เมื่อวางแผนการเงินได้แล้ว ก็ได้เวลาของการตรวจเช็กภาระหนี้สินที่คุณมีอยู่ เช่น ผ่อนรถยนต์ หนี้บัตรเครดิต เป็นต้น หากมีภาระหนี้สินอื่น ๆ ร่วมด้วยและเกิน 40% ของรายได้ ธนาคารก็จะอนุมัติวงเงินในการกู้ซื้อบ้านน้อยลงตามไปด้วย ดังนั้น ทางที่ดีจึงควรหาทางลดภาระหนี้สินที่ไม่อยู่ไม่ให้เกิน 40% ของรายได้จะดีที่สุด

4. สร้างประวัติเครดิตบูโรให้ดี

หากคุณวางแผนซื้อบ้านด้วยการขอสินเชื่อ สิ่งธนาคารจะทำก่อนพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้ก็คือ การเช็กประวัติเครดิตบูโร ซึ่งโดยปกติแล้ว ธนาคารจะทำการตรวจเช็กประวัติทางการเงินย้อนหลังผ่านเครดิตบูโร เพื่อประเมินประวัติการชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็น ประวัติการชำระล่าช้า ประวัติการผิดนัดชำระหนี้ สถานะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นต้น ดังนั้น หากคุณรู้ตัวว่าคุณมีประวัติทางการเงินที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก ก็ควรจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการชำระหนี้ เพื่อสร้างประวัติเครดิตบูโรให้ดี

5. ออมเงิน 20% ของราคาบ้าน

หลังจากวางแผนซื้อบ้าน ทั้งด้านการเงินและลดภาระหนี้สิน รวมถึงสร้างประวัติเครดิตบูโรเรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องก็คือ การออมเงินไว้อย่างน้อย 20% ของราคาบ้าน เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนแรกและค่าดำเนินการต่าง ๆ เช่น

  • เงินจองบ้าน หรือเงินที่จ่ายให้กับโครงการก่อนเริ่มทำสัญญาจะซื้อจะขาย เพื่อจองสิทธิ์ในการซื้อบ้าน
  • เงินดาวน์ หรือเงินที่ชำระหลังวันทำสัญญา เพื่แบ่งชำระค่าบ้านบางส่วน แล้วทำการผ่อนจ่ายส่วนที่เหลือในภายหลัง
  • ค่าจดจำนอง 1% ของมูลค่าที่จำนอง (จำนวนเงินกู้ทั้งหมด)
  • ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมินหรือราคาขาย
  • ค่าใช้จ่ายในการขอสินเชื่อ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมยื่นกู้ ค่าประเมินหลักประกัน ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ซึ่งค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับวงเงินกู้
  • ค่าใช้จ่ายช่วงโอน ได้แก่ ค่าโอนกรรมสิทธิ์ ค่าอากรแสตมป์ ค่าจดจำนอง
  • ค่าใช้จ่ายให้กับโครงการก่อนเข้าอยู่ ได้แก่ ค่ากองทุนส่วนกลาง ค่าส่วนกลางล่วงหน้า ค่าติดตั้งและประกันมิเตอร์น้ำ-ไฟฟ้า ซึ่งค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับโปรโมชันและข้อกำหนดของโครงการ

6. เลือกสินเชื่อให้เหมาะกับตัวเอง

การขอสินเชื่อ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในการวางแผนซื้อบ้าน ทำให้ในปัจจุบันธนาคารหลาย ๆ แห่งจึงได้มีการออกสินเชื่อที่กำหนดเงื่อนไขสินเชื่อที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น สิ่งสำคัญที่คุณต้องทำก็คือ การเปรียบเทียบข้อมูลสินเชื่อบ้าน เพื่อให้คุณสามารถพิจารณาและเลือกสินเชื่อที่ให้เงื่อนไขดีที่สุด รวมถึงตอบโจทย์กับความต้องการของคุณมาที่สุดได้ โดยให้พิจารณาตามปัจจัยดังนี้

  • เลือกสินเชื่อที่ตรงกับวัตถุประสงค์ เช่น ต้องการซื้อบ้านใหม่ ซื้อบ้านมือสอง หรือปลูกสร้างเอง เป็นต้น เนื่องจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้นมีหลายประเภทและจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์
  • พิจารณาดอกเบี้ย 1-3 ปีแรก โดยควรจะพิจารณาว่า สินเชื่อจากธนาคารไหนให้ดอกเบี้ยถูกที่สุด เพื่อให้เงินที่คุณจ่ายไปในแต่ละเดือน ถูกนำไปหักลดกับเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย และสามารถปิดหนี้ได้เร็วขึ้น
  • ให้วงเงินกู้สูง เนื่องจากสินเชื่อโดยส่วนใหญ่ จะพิจารณาอนุมัติวงเงินประมาณ 70-80% ขึ้นไป แต่ก็มีสินเชื่อจากบางธนาคารที่อนุมัติวงเงิน 90-100% เช่นเดียวกัน
  • ระยะเวลาผ่อนชำระนาน สินเชื่อบ้านโดยส่วนใหญ่ จะให้ระยะเวลาในการผ่อนชำระประมาณ 35-40 ปี ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการผ่อนในแต่ละเดือนได้ดียิ่งขึ้น

วางแผนซื้อบ้าน สานฝันให้เป็นจริง ต้องเลือกโครงการจาก CP LAND

สำหรับ 6 เทคนิควางแผนซื้อบ้านแบบรัดกุมฉบับมนุษย์เงินเดือนที่ CP LAND รวบรวมมาแบ่งปันในบทความนี้ คงจะเป็นไอเดียในการวางแผนซื้อบ้านให้กับคนที่อยากมีบ้านในฝันสักหลังเป็นของตัวเองได้ ทั้งนี้ ก็อย่าลืมศึกษาเคล็ดลับและเทคนิคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อบ้านให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น เพื่อให้คุณมีข้อมูลรอบด้าน และสามารถซื้อบ้าน รวมถึงขอสินเชื่อที่ตอบโจทย์กับคุณมากที่สุดได้

สำหรับคนที่วางแผนซื้อบ้านแต่ยังไม่มีโครงการในใจ ก็สามารถเข้ามาเยี่ยมชมโครงการบ้านของ CP LAND โดยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายวันเข้าชมโครงการผ่านช่องทางการติดต่อเหล่านี้ได้เลย